วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการปฎิบัติงานประจำวันที่ 31 สิหาคม 2558


เช้าวันทำงานวันแรกของสัปดาห์ ได้เดินทางไปกศน.อำเภอเมืองลำปาง
เพื่อร่วมประชุมวางแผนการจัดงาน "วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ พ.ศ.2558"

โดย อาจารย์ยุรัยยา  อินทรวิจิตร 
 หัวหน้ากลุ่มจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
เป็นประธานติดตามงาน ของคณะกรรมการดำเนินงานแต่ละชุด


....ประกอบไปด้วย....

 งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน   นางสายฝน  ฝั้นแก้ว  (พี่แหม่ม)

   ได้ประสานงานอำเภอต่าง ๆ ในการจัดโดยจะนำผลงานโครงงานของนักศึกษามาจัดแสดง 
กศน.อำเภอเมืองลำปาง ได้นำ...
โครงงานปั้มลมรีไซเคิ้ล กศน.ตำบลทุ่งฝาย 
โครงงาน จักรยานรีไซเคิ้ลปั่นไฟฟ้า กศน.ตำบลต้นธงชัย
 โครงงานการ เพาะเห็ดฟาง กศน.ปงแสนทอง




งานปวช. 
นายเอกอนันท์   บุญพงษ์ไชยยันต์ 
ทำสกีนแปดช่อง หรือ เอ็กสแตน ผลงานนักศึกษาปวช.ที่จะนำมาแสดง
 ได้แก่ ชิ้นงานสมุดทำมือ ที่คั่นหนังสือ  

ผู้ไม่รู้หนังสือ  
นางยุพิน  กาญจนเชษฐ์
นำผลงานรูปการจัดการเรียนการสอนผู้ไม่รู้ 
จากเรือนจำ ตำบลบ้านเอื้อม นิคม บุญนาค บ้านค่า จะนำไปจัดทำเป็นโฟมบอร์ด

 งานผู้พิการ   
นายมานพ  เรือนงาม  

   ประสานงานอำเภอเมืองปาน เพาะถ้่วงอก อำเภอแจ้ห่ม เพาะเห็ด  อำเภอห้างฉัตร 
แบล็คดร็อฟกับสื่อการสอน อำเภอเกาะคานำป้ายการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
 ตามงานแต่ละด้านมาจัดแสดง และอำเภอวังเหนือนำผลงานประดิษฐ์เศษผ้า  
กศน.ตำบล ในวัด 
  นางจิตราภรณ์  เทวะนา   

 ทำผลงานแสดงเป็นเอ็กแสตนด์ ป้ายโฟมบอร์ด (การจัดการศึกษาในวัด ) 
 มีการสาธิตอาชีพในวัด ได้แก่ การทำเหรียญโปรยทาน 

ฝ่ายการจัดแสดง 
 นางพิรุณ   รัตนงามวงค์  

   ในวันงานจะนำนักศึกษาชุดเต้น To Be Number One 
ซึ่งได้รับรางวัลเมื่อปีที่ผ่านมาโชว์การแสดงเต้นจำนวน 1 ชุด 
ซึ่งเป็นนักศึกษาของกศน.ตำบลกล้วยแพะ
กิจกรรมที่เข้าร่วมประกวด  โครงการประกวด "วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ และวัน กศน.เพื่อปวงชน"
.....เรื่องอื่นๆแจ้งให้ทราบ....

    อาจารย์สุมลย์มาลย์   ก้าวกสิกรรม (พี่ตุ้ม)

 แจ้งให้ทราบเรื่อง การจัดทำแผนปฎิบัติการประจำปี 2559  
เนื่องจาก กศน.จังหวัดลำปาง ได้ประสานงานมาเพื่อให้กศน.อำเภอเมืองลำปาง
 ส่งแผนเพื่อจะได้จัดสรรงบประมาณในปี 2559
   นางนาตยา   ทุลกุล (พี่ป๋อมแป๋ม)
ได้เล่าถึงการเป็นตัวแทนประชุมที่จังหวัดเชียงใหม่ เรื่องการจัดทำแผนจุลภาค 
 โดยขอให้นำข้อมูลจริงของกศน.ตำบล และจะนำแบบฟอร์ม แผนจุลภาคที่เหมือนกันทั่วประเทศ 
จะส่งให้เดือนกันยายน และแผนปฎิบัติการประจำปี 2559 
ให้ดำเนินการจัดกิจกรรมโดยควรจะจัดกิจกรรมในไตรมาสที่ 1 และ 2

หลักสูตร กศน. 59 และขอความร่วมมือกันทำประชาพิจารณ์  

ให้ช่วยกันดูอย่างแท้จริงให้ดูอย่างละเอียดทุกหน้า  

รับทราบ ...เพื่อนำไปดำเนินการปฎิบัติค่ะ....

ช่วงบ่าย....ได้ช่วยกันจัดอาคารสถานที่เพื่อต้อนรับ
คณะครูกศน.จากอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัยในวันพรุ่งนี้

นางสาวระพีพรรณ  ภิญโญ
ครูกศน.ตำบลบ้านเป้า
รายงาน


วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แผนการปฎิบัติงาน วันที่ 31 สิงหาคม - ุ6 กันยายน 2558



แผนการปฏิบัติงานครู กศน.ตำบลบ้านเป้า
ระหว่าง วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558  ถึง วันที่  6  กันยายน พ.ศ. 2558


 ที่
วัน/เดือน/ปี
                        กิจกรรมที่ปฏิบัติ

    พื้นที่ดำเนินการ
1
31/ส../58
เข้ากศน.อำเภอเมืองลำปาง
ประชุมการนำเสนอการจัดงานวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ วันที่ 7-8 กันยายน 58 ณ ลานหลังเซนทรัลลำปาง

กศน.อำเภอเมืองลำปาง

2
1/ก../58
เข้ากศน.อำเภอเมืองลำปางเพื่อจัดเก็บข้อมูลและสรุปของตำบลบ้านเป้าและมาตรฐานตัวบ่งชี้ที่ได้รับผิดชอบ

กศน.อำเภอเมืองลำปาง

3
2/ก../58
เข้าพื้นที่ตำบลบ้านเป้า
จัดเก็บข้อมูลและสรุปSARสรุปของตำบลบ้านเป้า
รายงานกิจกรรม กพช.พัฒนาศูนย์การเรียน

กศน.ตำบลบ้านเป้า

4
3/ก../58
เข้าพื้นที่ตำบลบ้านเป้า
จัดเก็บข้อมูลและสรุปSARสรุปของตำบลบ้านเป้า

กศน.ตำบลบ้านเป้า

5
4/ก../58
เข้าพื้นที่ตำบลบ้านเป้า
จัดเก็บข้อมูลและสรุปSARสรุปของตำบลบ้านเป้า
ประสานการจัดทำแผนประจำปี 2559 ร่วมกับอบต.บ้านเป้า

กศน.ตำบลบ้านเป้า

6
5/ก../58
หยุด


-
7
6/ก../58
พบกลุ่มนักศึกษาสายสามัญ ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2558


ตำบลบ้านเป้า


                                                           
                                                                      
(นางสาวระพีพรรณ   ภิญโญ)
                                                                              ครู กศน. ตำบลบ้านเป้า


บันทึกพบกลุ่มวันที่ 30 สิงหาคม 2558

 เช้าวันอาทิตย์ที่สดใสเดินทางไปยังตำบลบ้านเป้า 
....นัดพบป่ะกับนักศึกษาในตำบล....
นักศึกษาเริ่มเดินทางมาพบกลุ่มแต่ยังมีบางรายมีปัญหาเนื่องจากบางคนติดภารกิจ 
ขออนุญาตครูทางไลน์บ้าง  โทรศัพท์มาลาเนื่องจากติดธุระส่วนตัว และอยู่ในช่วงเวลาการปลูกนาบ้าง
ครูให้นักศึกษาติดตามด้วยตนเองและเพื่อนที่อยูในกลุ่ม บ้านเดียวกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

นักศึกษาระดับประถม จำนวน   3 คน   ขาดเรียนจำนวน 3 คน
         นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 4 คน  ขาดเรียนจำนวน 6 คน
         นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 33 คน  ขาดเรียนจำนวน 17 คน

จัดการเรียนการสอนระดับ ประถม และม.ต้น
การจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบ Onie Model
วิชาศาสนาและหน้าที่พลเมือง 
          ครูชวนผู้เรียนพูดคุยเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญว่ามีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างไร ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายเรื่องโครงสร้างและสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพร้อมกับพูดคุยเรื่องบทบาท  หน้าที่ในการปฏิบัติเป็นพลเมืองดี  ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัยก่อนเข้าสู่บทเรียนขั้นต่อไป  ครูให้ผู้เรียนทำใบงาน  เรื่อง  ความเป็นมา  หลักการ  เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ  ผู้เรียนศึกษาหาความรู้  เรื่อง  โครงสร้างและสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ
ทดสอบย่อย และมอบหมายงานกรต.
                                                      จัดการเรียนการสอนระดับ ม.ปลาย
การจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบ Onie Model
ขั้นตอนที่ ขั้นกำหนดสภาพปัญหาความต้องการในการเรียนรู้ (O-Orientation)
    ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยสนทนา และซักถามผู้เรียนในเรื่องปัญหาของตนเอง ครอบครัว ชุมชน 
 ขั้นตอนที่ การแสวงหาความรู้ (N=New ways of learning)
 แบ่งกลุ่ม นักศึกษา ค้นคว้า รูปแบบและการจัดกระบวนการเรียนรู้  พร้อมส่งตัวแทน นำเสนอหน้าชั้นเรียน
 ครูแจกใบงานเรื่อง กรณีตัวอย่าง ให้นักศึกษาแต่ละคนได้ทำในชั่วโมงเรียนพร้อมส่งครู   ครูแจก ใบงาน  เรื่องความเชื่อพื้นฐานของคนคิดเป็นและการเชื่อมโยงไปสู่ปรัชญาคิดเป็น การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบของคนคิดเป็นด้วยการรวมกลุ่มปฏิบัติการ ส่งครูในชั่วโมงเรียน ขั้นตอนที่ การปฏิบัติและการนำไปประยุกต์ใช้ (l=lmplementation)  ครูสุ่มตัวแทนกลุ่มนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ครูและผู้เรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันครูได้สอดแทรกเข้ากับ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ห่วง เงื่อนไข ให้ผู้เรียนเข้าใจแต่ละมากขึ้นในการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง     ซึ่งเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชดำรัสแก่ชาวไทย
ขั้นตอนที่ การประเมินผล (E=Evaluation)   ครูให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
 ครูและผู้เรียนเฉลยแบบทดสอบร่วมกัน   มอบหมายงานกรต.



                                    หลังจากนั้นครูให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าที่ห้องคอมพิวเตอร์
และได้แนะนำมาใช้เข้าไปศึกษาเว็บไซต์ของ กศน.อำเภอเมืองลำปาง
นักศึกษาคลิกไปยังใต้ภาพของท่าน ผอ.ที่QR Code เพื่อเป็นช่องทางในการดูประวัติการลงทะเบียนเรียน กิจกรรม กพช.เกรดเฉลี่ย 
หรือสแกน QR Code ลงมือถือ ของตนเองก็ได้
หลังจากนั้นได้ทดลอง กรอกรหัส นักศึกษา และชื่อ เพื่อค้นหา ก็จะพบกับหน้าจอแสดงผลการเรียน
รู้สึกนักศึกษาดีใจและตื่นเต้นมากเลยค่ะ
ที่ได้เห็นรายชื่อของตนเองทั้งผลการเรียน และวิชาที่ลงทะเบียน
ส่วนตัวครูได้บอกว่าดีใจมากที่มีโปรแกรมนี้ขึ้นมาเพื่อให้นักศึกษาได้ทราบข้อมูลของตนเอง
นักศึกษาต้องขอบคุณท่านผอ.ที่ท่านได้เห็นประโยชน์ของนักศึกษาในการสืบค้นข้อมูล
นำความทันสมัยเข้ามาให้พวกเราได้ทราบและเรียนรู้พร้อมกัน

นักศึกษารู้สึกดีเยี่ยมมากเลยค่ะ....ที่มีเว็บไซต์ นี้ขึ้นมา

นักศึกษาสแกน QR Code ลงมือถือ ของตนเอง

ได้ตรวจสอบการทำกิจกรรมกพช.ที่ผ่านมาได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ดีจริงๆเลย












ครูเน้นย้ำนักศึกษาเข้าสอบปลายภาคเรียน 
วันที่ 13 สิงหาคม วิชาเลือก และวันที่ 19 - 20 สิงหาคม รายวิชาบังคับ และให้นักศึกษาที่คาดว่าจะจบในภาคเรียนนี้ส่งเอกสารของตัวเองด้วยค่ะ
ครูประชาสัมพันธ์ในงานวันระลึกสากลแห่งการเรียนรู้หนังสือ 
ในวันที่ 7-8 กันยายน 2558 
  ที่ลานจอดรถห้างเซ็นทรัลลำปาง
ซึ่งมีกิจกรรมของกศน.จังหวัดลำปางมากมาย 
เช่นการแสดงนิทรรศการการศึกษาขั้นพืนฐาน  
หลักสูตร ปวช, การจัดการเรียนของผู้พิการ และการแสดงTO BE NUMBER ONE ฯลฯ

ครูและนักศึกษาได้ช่วยกันทำความสะอาด ปลูกต้นไม้ พัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์
บริเวณหน้ากศน.ตำบลบ้านเป้า
ให้สวยงาม น่าเข้าไปใช้บริการเรียนรู้เป็นแหล่งเรียนรูให้กับตำบลเรา












กศน.ตำบลบ้านเป้ายินดีต้อนรับนะคะ



นางสาวระพีพรรณ  ภิญโญ
ครูกศน.ตำบลบ้านเป้า
รายงาน

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แผนการสอนครั้งที่ 16



แผนจัดการเรียนรู้  ONIE  Model 
วิชา ศาสนาและหน้าที่พลเมือง  ระดับ ม.ต้น  จำนวน  2  หน่วยกิต
 


เรื่อง
ตัวชี้วัด
เนื้อหา
การจัดกระบวนการเรียนรู้
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผล
หน้าที่พลเมือง
1. รู้และเข้าใจความสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2. รู้และเข้าใจหลักคุณธรรมจริยธรรมของการอยู่ร่วมกัน
3. มีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

1. ความเป็นมา หลักการ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
2. โครงสร้าง และสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ
3. การปฏิรูปการเมือง และจุดเด่นของรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพหน้าที่ของประชาชน
4. หลักการอยู่ร่วมกันตามวิถีทางประชาธิปไตยบนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรม
5. สถานการณ์ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ขั้นที่ 1 กำหนดสภาพปัญหาการเรียนรู้
1. ครูชวนผู้เรียนพูดคุยเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญว่ามีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างไร
2. ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายเรื่องโครงสร้างและสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพร้อมกับพูดคุยเรื่องบทบาท  หน้าที่ในการปฏิบัติเป็นพลเมืองดี
3. ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัยก่อนเข้าสู่บทเรียนขั้นต่อไป

ขั้นที่ 2 แสวงหาข้อมูลและจัดการเรียนรู้
1. ผู้เรียนศึกษาความรู้เรื่อง  ความเป็นมา  หลักการ  เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
4. ครูให้ผู้เรียนศึกษาความรู้  พร้อมทั้งสรุปใจความสำคัญมาตามความเข้าใจของผู้เรียน
5. ครูสุ่มตัวอย่างผู้เรียนออกมาแสดงความความคิดเห็นตามที่ตนเองสรุปไว้
6. ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 2  กลุ่ม  เพื่อศึกษากรณีตัวอย่างเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14  ตุลา  และพฤษภาทมิฬว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรจากกรณีตัวอย่างที่ 2  กรณี

1. กรณีตัวอย่าง 
2. หนังสือเรียน
3. ใบงาน
1. การสังเกตการณ์มีส่วนร่วมของผู้เรียน
2. ผลงาน
3. แบบทดสอบ
4. สมุดบันทึก


                เรื่อง
ตัวชี้วัด
เนื้อหา
การจัดกระบวนการเรียนรู้
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผล



7. ครูให้ผู้เรียนส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอความรู้จากการศึกษากรณีตัวอย่าง  พร้อมถกแถลงร่วมกัน
8. ครูให้ผู้เรียนทำใบงาน  เรื่อง  ความเป็นมา  หลักการ  เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
9. ผู้เรียนศึกษาหาความรู้  เรื่อง  โครงสร้างและสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ
10. ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่ม  แล้วให้แต่ละกลุ่มคัดเลือกหัวหน้ากลุ่ม  รองหัวหน้ากลุ่ม  
และเลขานุการการ  จากนั้นให้หัวหน้ากลุ่มออกมาจับฉลากเพื่อเลือกหัวข้อของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่จะต้องนำไปศึกษาค้นคว้าพร้อมยกตัวอย่างรัฐธรรมนูญที่จำเป็นและการนำไปใช้สำหรับการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันดังนี้  ดังนี้ 
          หมวด 3  สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย
          หมวด 4  หน้าที่ของชนชาวไทย
          หมวด 14  การปกครองส่วนท้องถิ่น
11.  ครูให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจัดบอร์ดแสดงผลงานของแต่ละกลุ่มตามหัวข้อที่ได้ไปศึกษาแล้วนำผลงานมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
12. ผู้เรียนศึกษาความรู้ เรื่องสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ของประชาชน




                เรื่อง
ตัวชี้วัด
เนื้อหา
การจัดกระบวนการเรียนรู้
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผล



13. ครูให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวกับ สิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของประชาชนจาก ใบงาน หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์หรือแหล่งเรียนรู้ เช่น อินเตอร์เน็ต แล้วสรุปเป็นใบงานส่งครู
14. ครูให้ผู้เรียนนำผลการศึกษาค้นคว้ามานำเสนอในกลุ่มผู้เรียนให้เพื่อนฟังโดยการสุ่มตัวอย่าง พร้อมทั้งให้ผู้เรียนนำใบงานส่งครู

ขั้นที่ 3  ภาคปฏิบัติและการนำไปประยุกต์ใช้
ครูและผู้เรียนสรุปเนื้อหาร่วมกัน

ขั้นที่  4  ขั้นประเมินผล
1. ครูสังเกตจากการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
2. ตรวจใบงาน




                                  แผนจัดการเรียนรู้รายสัปดาห์  ระดับมัธยมศึึกษาตอนปลาย
  วิชา ทักษะการเรียนรู้  รหัสวิชา  ทร 31001  จำนวน   5  หน่วยกิต (200 ชั่วโมง)
สาระทักษะการเรียนรู้  ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย

ที่
หัวเรื่อง
ตัวชี้วัด
เนื้อหา
การจัดกระบวนการเรียนรู้
สื่อ/
แหล่ง
เรียนรู้
การวัด
ประเมินผล
4


1. ปฏิบัติการด้านทักษะกระบวนการจัดการความรู้ด้วยตนเองและด้วยการรวมกลุ่มปฏิบัติการได้

2. รวบรวมและวิเคราะห์สภาพปัญหาของตนเอง ครอบครัว ชุมชน  และคิดวิเคราะห์  โดยใช้ข้อมูลด้านตนเอง  ด้านวิชาการ  และด้านสังคมสิ่งแวดล้อม


การจัดการความรู้
ทักษะกระบวนการจัดการความรู้ด้วยตนเองและด้วยการรวมกลุ่มปฏิบัติการ

การคิดเป็น การรวบรวมและวิเคราะห์สภาพปัญหา ของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และคิดวิเคราะห์  โดยใช้ข้อมูลด้านตนเอง ด้านวิชาการ และด้านสังคมสิ่งแวดล้อม
การจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบ Onie Model
ขั้นตอนที่ ขั้นกำหนดสภาพปัญหาความต้องการในการเรียนรู้ (O-Orientation)
    ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยสนทนา และซักถามผู้เรียนในเรื่องปัญหาของตนเอง ครอบครัว ชุมชน 
 ขั้นตอนที่ การแสวงหาความรู้ (N=New ways of learning)
1.  แบ่งกลุ่ม นักศึกษา ค้นคว้า รูปแบบและการจัดกระบวนการเรียนรู้  พร้อมส่งตัวแทน นำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.  ครูแจกใบงานเรื่อง กรณีตัวอย่าง ให้นักศึกษาแต่ละคนได้ทำในชั่วโมงเรียนพร้อมส่งครู
3. ครูแจก ใบงาน  เรื่องความเชื่อพื้นฐานของคนคิดเป็นและการเชื่อมโยงไปสู่ปรัชญาคิดเป็น การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบของคนคิดเป็นด้วยการรวมกลุ่มปฏิบัติการ ส่งครูในชั่วโมงเรียน
3. ขั้นตอนที่ การปฏิบัติและการนำไปประยุกต์ใช้ (l=lmplementation)
1. ครูสุ่มตัวแทนกลุ่มนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
2. ครูและผู้เรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
ขั้นตอนที่ การประเมินผล (E=Evaluation)
1. ครูให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
2. ครูและผู้เรียนเฉลยแบบทดสอบร่วมกัน                            
3. มอบหมายงานกรต.






1.แบบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
2. ใบความรู้
3. สื่อ ETV
4. ใบงาน
5. แบบทดสอบ
1.แบบบันทึกการเรียนรู้
2.แบบทดสอบ
3. สังเกต
4. การมีส่วนร่วม