วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บันทึกปฎิบัติงานประจำวัน วันที่ 29 กรกฎาคม 2558

ในวันนี้ ได้เดินทางไปอบต.บ้านเป้า ร่วมเป็นวิทยากร ในวันที่ 2  
โครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพประชาชนฝึกอบรมการทำขนมไทย
     ซึ่งมีคณะวิทยากรที่ประกอบธุรกิจด้านการทำขนม สาธิตให้ความรู้ในการทำขนม......
            ในวันนี้ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่มีการเรียนการสอน....คณะทีมงานวิทยากร ซึ่งเป็นเจ้าของกิจกรรมร้านขนมไทยในตัวเมืองจังหวัดลำปาง จากร้านขนมหวาน บ้านสบายดี มาร่วมให้ความรู้ในการทำขนมไทยประเภท ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และเม็ดขนุน ขนมประเภท ทองต่างๆที่มีขั้นตอน ค่อยข้างยากมาก ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญและมีเทคนิคในการทำอย่างมาก.....
                                  ส่วนข้าพเจ้าได้สาธิต การทำเต้าฮวยฟรุ้ตสลัด....
           ซึ่งเป็นขนมที่ทานง่ายขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยากอะไรมากนัก สามารถซึ้อวัสดุ อุปกรณ์มาหัดทำในครัวเรือนได้เลย สามารถจำหน่ายได้ทั่วไป  มีต้นทุนไม่สูงมากนัก ทำง่าย ขายง่าย   ซึ่งผู้เรียนมีความตั้งใจสนใจในการเรียนรู้เป็นอย่างดี ....



                                                                       






 

   ..... ในบทบาทของการเป็นวิทยากรในครั้งนี้.....
        ที่ร่วมงานกับเครือข่ายในพื้นที่ ที่เรารับผิดชอบอยู่นั้น ได้มีความภาคภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ในการทำขนม เพื่อสร้างอาชีพให้กับประชาชน นำความรู้ไปประกอบอาชีพเพิ่มรายได้ให้กับตนเองครอบครัวและชุมชน ส่วนหนึ่งมาจากข้อมูลที่ทาง กศน.ได้มีการส่งเสริมด้านอาชีพต่างๆ ในตำบลบ้านเป้า เช่น โครงการ " หนึ่งคน หนึ่งอาชีพ"ในตำบลบ้านเป้า 


       
        จากการสอบถามพูดคุย ระหว่างเรียนนี้จึงทำให้ข้าพเจ้าได้ทราบข้อมูลประชาชน แต่ละหมู่บ้านที่ยังต้องการเรียนรู้ฝึกอาชีพ เช่น การทำน้ำสมุนไพร การทำไวน์ผลไม้  เป็นต้น   ซึ่งข้าพเจ้าจะได้นำข้อมูลมาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำแผนปีงบประมาณ 2559 ต่อไป


(นางสาวระพีพรรณ  ภิญโญ)
ครูกศน.ตำบลบ้านเป้า
ผู้รายงาน

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการปฎิบัติงานประจำวัน วันที่ 28 กรกฎาคม 2558

  
ช่วงเช้า  
             ตื่นนอนเวลา 05.00 น. ทำภารกิจส่วนตัวเสร็จ ร่วมทำวัตรเช้าร่วมกับนักศึกษา พระวิทยากรท่านให้สวดมนต์ นั่งสมาธิ และเดินจงกรม หลังจากนั้นให้นักศึกษาได้ช่วยกันทำความสะอาดห้องอบรม
หลังจากนั้นร่วมรับประทานอาหารเช้าและดูแลความสะอาดเรียบร้อยที่ฝึกอบรม จนถึงเวลา 8.00น.






เวลา 8.30 น.  เดินทางไปอบต.บ้านเป้า ร่วมเป็นวิทยากร 
โครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพประชาชนฝึกอบรมการทำขนมไทย 
            ซึ่งมีคณะวิทยากรที่ประกอบธุรกิจด้านการทำขนม มีการสาธิตให้ความรู้ในการทำขนม......
            ในวันนี้มีการสอนการทำขนมจีบ ซาลาเปา ปั้นสิบ ผู้เรียนจำนวน ทั้งสิ้น 50 คน ทั้ง 12 หมู่บ้าน      มีความสนใจในการทำเป็นอย่างดี ข้าพเจ้าได้แนะนำการประกอบอาชีพเพื่อให้นำความรู้ที่ได้รับไปสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและชุมชน พร้อมประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานกศน.ในด้านอาชีพ และงานด้านอื่นๆ กศน. เพื่อชี้ช่องทางให้ประชาชนได้เข้าร่วมกิจกรรมในแผนการปฎิบัติงาน งบประมาณปี 2559 ต่อไป ....








ช่วงเย็น
    เวลา 17.30 น. ร่วมกับบุคลากร กศน.อำเภอเมืองลำปาง โดยมีท่านผอ.ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ ผอ.กศน.อำเภอเมืองลำปางและคณะครู และนักศึกษาร่วมพิธีจุดเทียนชัยถวายพระพร พระบรมโอสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 
ซึ่งมีหน่วยงานขัาราชการและประชาชน จังหวัดลำปาง 
โดย มี นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และภริยา เป็นประธาน  
ณ สวนสาธารณะเขลางค์นคร





(นางสาวระพีพรรณ  ภิญโญ)
ครู กศน.ตำบลบ้านเป้า
ผู้รายงาน













วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บันทึกปฎิบัติงานประจำวันที่ 27 กรกฎาคม 2558

ช่วงเช้า
            เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงการธรรมะสอนใจขับเคลื่อนนโยบาย "ลำปางแห่งความสุขและสุจริต" พร้อมนักศึกษาตำบลบ้านเป้า จำนวน 3 คน ณ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พิธีเปิดโดยพระราชจินดานายก เจ้าอาวาสพระเจดีย์ซาวหลัง เจ้าคณะจังหวัดลำปาง อาจารย์ยุรัยยา อินทรวิจิตร รักษาการแทน ผอ.กศน.อำเภอเมืองลำปาง นำคณะครู กล่าวรายงาน โครงการธรรมะสอนใจขับเคลื่อนนโยบายลำปางนครแห่งความสุขและสุจริต ระหว่างวันที่ 27-28 กรกฎาคม 2558






 ช่วงบ่าย 
            ประสานงานติดต่อร้านค้า  เรื่องเอกสารที่จะจัดซื้ออุปกรณ์ ในการปรับปรุงมุมกาแฟและมุมอ่านหนังสือในห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำปาง

 ช่วงค่ำ
           เตรียมตัวมานอนค่าย ณ วัดเจดีย์ซาวหลัง ซึ่งมีการ ทำวัตรเย็น การนั่งสมาธิ และพระวิทยากรเทศนาเรื่องพระคุณบิดามารดา ได้เล่าถึงประสบการณ์จากชีวิตจริงเพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาเป็นบทเรียนนำไปปรับใช้ในชีวิตต่อไป ร่วมกิจกรรมจุดเทียนปัญญา และสวดมนต์กราบพระก่อนเข้านอน





(นางสาวระพีพรรณ  ภิญโญ)
ครู กศน.ตำบลบ้านเป้า
ผู้รายงาน

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แผนการปฎิบัติงานรายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2558




                                                       แผนการปฏิบัติงานครู กศน.ตำบลบ้านเป้า
ระหว่าง วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558  ถึง วันที่  2  สิงหาคม พ.ศ. 2558


 ที่
วัน/เดือน/ปี
                        กิจกรรมที่ปฏิบัติ

    พื้นที่ดำเนินการ
1
27/ก../58
- เข้าร่วม ค่ายคุณธรรม จริยธรรม
 ดูแลนักศึกษาที่ร่วมกิจกรรม
 เสนอกิจกรรม กพช.โครงการถวายเทียนเข้าพรรษา
 ตำบลบ้านเป้า

ณ วัดเจดีย์ซาวหลัง
ตำบลต้นธงชัย

2
28/ก../58
-เข้าพื้นที่ตำบลบ้านเป้า
-ร่วมเป็นวิทยากร ในการฝึกอบรมโครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพประชาชนฝึกอบรมการทำขนมไทย  
ให้กับประชาชนตำบลบ้านเป้า (วันแรก)

ณ อบต.ตำบล
         บ้านเป้า
3
29/ก../58
-เข้าพื้นที่ตำบลบ้านเป้า
-ร่วมเป็นวิทยากร ในการฝึกอบรม โครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพประชาชนฝึกอบรมการทำขนมไทย  
ให้กับประชาชนตำบลบ้านเป้า (วันที่สอง)

ณ อบต.ตำบล  
      บ้านเป้า
4
30/ก../58
หยุด วันอาสาฬบูชา


5
31/ก../58
หยุด วันเข้าพรรษา


6
1/ส../58
หยุด


-
7
2/ส../58
พบกลุ่มนักศึกษาสายสามัญ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558


ตำบลบ้านเป้า


                                                           
                                                                      
(นางสาวระพีพรรณ   ภิญโญ)
                                                                               ครู กศน. ตำบลบ้านเป้า

บันทึกการพบกลุ่ม ครั้งที่ 11 วันที่ 26 กรกฎาคม 2558

รายงานการพบกลุ่มนักศึกษา
  
         นักศึกษาระดับประถม จำนวน   4  คน   ขาดเรียนจำนวน 2 คน
         นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 6 คน  ขาดเรียนจำนวน 4 คน
         นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 34 คน  ขาดเรียนจำนวน 14 คน
                วันนี้พบกลุ่มนักศึกษาสายสามัญ ระดับ ประถม ม.ต้น และม.ปลาย 
โดยครูแยกระดับ การจัดการเรียนการสอน ในระดับ ม.ปลาย ครูจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ 
Onie Model วิชาวิทยาศาสตร์ ทบทวนการเรียนการสอนในครั้งที่ผ่านมาและติดตามการทำงานกรต.  ครูสนทนาเกี่ยวกับ เครื่องปรุงอาหารในชีวิตประจำวัน พร้อมแนะนำให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากสื่อ etv เรื่องเทคโนโลยีชีวภาพ ประโยชน์และผลกระทบของเทคโนโลยีชีวภาพ ครูสุ่มตัวแทนออกมานำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมกัน พร้อมมอบหมายงานกรต. สารพิษในชีวิตประจำวัน และประโยชน์ของการรับประทานอาหาร คลีน และให้ทดสอบย่อยจำนวน 5 ข้อ 
               ระดับม.ต้น วิชา ศาสนาและหน้าที่พลเมือง เรื่อง ศาสนา  วัฒนธรรม  ประเพณี 
ครูสนทนา ซักถามผู้เรียนเรื่องการนับถือศาสนาของแต่ละคน ซึ่งส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ การจัดการเรียนการสอนครูให้ผู้เรียนบอกความเป็นมาของศาสนาในประเทศไทย พุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู  และหลักธรรมการสอนในแต่ละศาสนา ครูสุ่มตัวแทนนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำแบบทดสอบย่อย พร้อมมอบหมายงานกรต.
               ระดับ ประถม วิชาศิลปศึกษา เรื่องทัศนศิลป์พื้นบ้าน ครูซักถามผู้เรียนเรื่องศิลปพื้นบ้าน ของตำบลบ้านเป้า เช่นการฟ้องเล็บ การซีซะล้อซอซึง เป็นต้น การจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาบอกความหมายความเป็นมาเรื่องศิลปพื้นบ้าน พร้อมทดสอบย่อย และมอบหมายงานกรต. 
               ซึ่งครูได้แนะนำซึ่งการดูรายการ etv ทาง www.etvthai.tv โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อบต.บ้านเป้า ที่บ้าน แท็บเล็ต หรือใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน เป็นต้น ในการเข้าชมรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

























การจัดการเรียนการสอน กศน.ตำบลบ้านเป้าได้ใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ให้นักศึกษาเรียนรู้ทางระบบอินเตอร์เนตในการเรียนรู้ ค้นคว้า ซึ่งมีครูที่ประจำห้องคอมพิวเตอร์ของตำบลบ้านเป้าแนะนำดูแลอย่างใกล้ชิด ของครูน้ำฝน ซึ่งข้าพเจ้ามีผู้ช่วยที่น่ารักเพิ่มอีกคนในการดูแลนักศึกษาค่ะ
ครู น้ำฝน ผู้ช่วย ครูขวัญ

       ใกล้เข้าสู่เดือนสิงหาคม ที่ทุกคนรู้ว่า เป็นวันแม่แห่งชาติ หลังจากเรียนรู้เรียบร้อยแล้ว นักศึกษาได้ช่วยกันจัดบอร์ด ในวันเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมชินีนาถ วันแม่แห่งชาติ ที่ใกล้จะถึงนี้



ปัญหาและอุปสรรคในการพบกลุ่ม
              - เนื่องจากนักศึกษาติดภาระกิจในหมู่บ้าน จึงได้ขออนุญาตครูที่ติดตามงานภายหลัง ครูได้แนะนำให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้จากการใช้คอมพิวเตอร์ทั้งทางfacebook เพื่อเป็นช่องทางในการประสานงานติดตามการทำกิจกรรมต่างๆ และครูได้แนะนำซึ่งการดูรายการ etv ทาง www.etvthai.tv โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อบต.บ้านเป้า ที่บ้าน แท็บเล็ต หรือใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน  เป็นต้น

ครูแจ้งเรื่องกิจกรรม ดังนี้
            ครูเน้นย้ำนักศึกษาจำนวน 3 คน ในการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายคุณธรรม จริยธรรม วันที่  27 - 28 กรกฎาคม ให้เตรียมเสื้อขาวและอาหารแห้งเพื่อนำมาใส่บาตรด้วย  สถานที่จัดค่าย วัดเจดีย์ซาวหลัง ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองลำปาง 
           การจัดกิจกรรม กพช.การปรับปรุงภูมิทัศน์ กศน.ตำบลบ้านเป้าในเดือนสิงหาคมนี้ โดยการแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละระดับตามที่ โดยมีองค์การนักศึกษามอบหมาย
หน้าที่ต่อไป
            กิจกรรมการพัฒนาปรับปรุงบ้านหนังสืออัจฉริยะในตำบลบ้านเป้า ทั้ง 6 หมู่บ้านที่เป็นบ้านหนังสืออัจฉริยะ ได้มีการเสนอโครงการฯ พร้อมที่จะดำเนินการปรับปรุงพัฒนาให้น่าเข้าไปใช้บริการและสวยงามต่อไป


   (นางสาวระพีพรรณ  ภิญโญ)
ครู กศน.ตำบลบ้านเป้า
ผู้รายงาน

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แผนการสอนรยสัปดาห์ ครั้งที่ 11 วันที่ 26 กรกฎาคม 2558

แผนจัดการเรียนรู้รายสัปดาห์  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
วิชา วิทยาศาสตร์  สาระความรู้พื้นฐาน

ที่
หัวเรื่อง
ตัวชี้วัด
เนื้อหา
การจัดกระบวนการเรียนรู้
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
การวัดประเมินผล

เทคโนโลยีชีวภาพ
1. อธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ และประโยชน์ได้
2. อธิบายผลของเทคโนโลยีชีวภาพต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้
3. อธิบายบทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพได้

1. ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพ
2. ปัจจัยที่มีผลต่อเทคโนโลยีชีวภาพ
3. เทคโนโลยีชีวภาพในชีวิตประจำวัน
4. ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ
5. ประโยชน์และผลกระทบของเทคโนโลยีชีวภาพ
การจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบ Onie Modelขั้นตอนที่ 1 ขั้นกำหนดสภาพปัญหาความต้องการในการเรียนรู้ (O-Orientation)                  
1.ครูทบทวนบทเรียนจากการพบกลุ่มครั้งที่ แล้วและงานที่มอบหมาย                  
2.ครูสนทนาเกี่ยวกับ เครื่องปรุงอาหารในชีวิตประจำวัน
3. ครูให้ผู้เรียนศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ ประโยชน์และผลกระทบของเทคโนโลยีชีวภาพ
2.ขั้นตอนที่ 2 การแสวงหาความรู้ (N=New ways of learning)  
1.ครูให้ผู้เรียนรับชม ETVเรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพสรุปร่วมกัน
2.  ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย
3.ครูให้ผู้เรียนศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ ประโยชน์และผลกระทบของเทคโนโลยีชีวภาพ
4. ส่งตัวแทนนำเสนอ แล้วสรุปเนื้อหาร่วมกัน
3. ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติและการนำไปประยุกต์ใช้ (l=lmplementation)
1. ครูสุ่มตัวแทนกลุ่มนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
2. ครูและผู้เรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผล (E=Evaluation)
1. ครูให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
2. ครูและผู้เรียนเฉลยแบบทดสอบร่วมกัน                            
3. มอบหมายงานกรต.

1.แบบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์              2. ใบความรู้              
3. สื่อ ETV              4. ใบงาน                 
 5. แบบทดสอบ
1.แบบบันทึกการเรียนรู้                         2.แบบทดสอบ            
3.สังเกต                  4. การมีส่วน


                                                            แผนจัดการเรียนรู้รายสัปดาห์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
                                                                         วิชา ศาสนาและหน้าที่พลเมือง (สค 21002)
                                                          สาระ การพัฒนาสังคม จำนวน  2  หน่วยกิต (ครั้งที่ 1)

ที่
หัวเรื่อง
ตัวชี้วัด
เนื้อหา
การจัดกระบวนการเรียนรู้
สื่อ/
แหล่ง
เรียนรู้
การวัด
ประเมินผล
1
ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี

 1.มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาของศาสนาต่างๆ ในประเทศไทย และประเทศในทวีปเอเชีย

 2.นำหลักธรรมสำคัญๆ ในศาสนาของตน มาประพฤติปฏิบัติให้สามารถอยู่ร่วมกันกับศาสนาอื่นได้อย่างสันติสุข










 1.ความเป็นมาของศาสนาในประเทศไทย
   - พุทธ
   - คริสต์
   - อิสลาม
   - ฮินดู
2.หลักธรรมในแต่ละศาสนาที่ทำให้อยู่ร่วมกับศาสนาอื่นได้อย่างมีความสุข
   - ศาสนาพุทธ คือ
     พรหมวิหาร4
     ฆราวาสธรรม ฯลฯ
   - ศาสนาคริสต์
   - ศาสนาอิสลาม
   - ศาสนาฮินดู

การจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบ Onie Model
ขั้นตอนที่ ขั้นกำหนดสภาพปัญหาความต้องการในการเรียนรู้ (O-Orientation)
    ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยสนทนา และซักถามผู้เรียนในเรื่องการนับถือศาสนาของนักศึกษาและครอบครัว
2. ขั้นตอนที่ การแสวงหาความรู้ (N=New ways of learning)
ความเป็นมาของศาสนาในประเทศไทย
หลักธรรมในแต่ละศาสนาที่ทำให้อยู่ร่วมกับศาสนาอื่นได้อย่างมีความสุข
3. ขั้นตอนที่ การปฏิบัติและการนำไปประยุกต์ใช้ (l=lmplementation)
1. ครูสุ่มตัวแทนกลุ่มนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
2. ครูและผู้เรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
ขั้นตอนที่ การประเมินผล (E=Evaluation)
1. ครูให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
2. ครูและผู้เรียนเฉลยแบบทดสอบร่วมกัน
3. มอบหมายงานกรต.







1.แบบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
2. ใบความรู้
3. สื่อ ETV
4. ใบงาน
5. แบบทดสอบ
1.แบบบันทึกการเรียนรู้
2.แบบทดสอบ
3. สังเกต
4. การมีส่วนร่วม

                                               แผนจัดการเรียนรู้รายสัปดาห์ ระดับประถมศึกษา
                                                                         วิชา ศิลปศึกษา (ทช 11003)
                                                          สาระ ทักษะการดำเนินชีวิต จำนวน 2 หน่วยกิต (ครั้งที่ 1)

ที่
หัวเรื่อง
ตัวชี้วัด
เนื้อหา
การจัดกระบวนการเรียนรู้
สื่อ/
แหล่ง
เรียนรู้
การวัด
ประเมินผล
1
ทัศนศิลป์พื้นบ้าน
1.สามารถจินตนาการ และอธิบายวิธีการนำความงามจากธรรมชาติให้ออกมาเป็นความงามทางทัศนศิลป์พื้นบ้านอย่างง่าย ๆ
2.อธิบาย วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์รูปแบบและคุณค่าของงานทัศนศิลป์พื้นบ้านในเรื่องต่าง ๆ
3.อธิบายคุณค่า ความสำคัญความดีงามของวัฒนธรรม ประเพณี และความสวยงามของโบราณวัตถุ และโบราณสถานของท้องถิ่น












ทัศนศิลป์พื้นบ้าน
1.ความหมาย ความสำคัญ ความเป็นมาของทัศนศิลป์พื้นบ้าน
2.รูปแบบและวิธีการนำจุด เส้น สี แสง –เงา รูปร่างและรูปทรงมาจินตนาการสร้างสรรค์ประกอบให้เป็นงานทัศน์ศิลป์พื้นบ้าน
3.รูปแบบและวิวัฒนาการของงานทัศน์ศิลป์พื้นบ้านด้าน
  - จิตรกรรม
  - ประติมากรรม
  -สถาปัตยกรรม
  -ภาพพิมพ์
4.รูปแบบและความงามของทัศน์ศิลป์พื้นบ้านกับความงามตามธรรมชาติที่เกี่ยวกับรูปร่างหรือรูปทรง เส้น สี แสง-เงา และจุดของต้นไม้ ดอกไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ เปลือกไม้ ตอไม้ ทะเล แม่น้ำ ลำธาร ภูเขา กรวด หิน ดิน
5.ความงามและความซาบซึ้งของงานทัศน์พื้นบ้านที่เกิดจากเส้น สี จุด แสงเงา รูปร่างและรูปทรงที่เกิดจากการเลียนแบบ ลอกแบบมาจากธรรมชาติ

การจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบ Onie Model
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นกำหนดสภาพปัญหาความต้องการในการเรียนรู้ (O-Orientation)
    ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยสนทนา และซักถามผู้เรียนในเรื่องศิลปะพื้นบ้าน
2. ขั้นตอนที่ 2 การแสวงหาความรู้ (N=New ways of learning)
ทัศนศิลป์พื้นบ้าน
ความหมาย ความสำคัญ ความเป็นมาของทัศนศิลป์พื้นบ้าน
รูปแบบและวิธีการนำจุด เส้น สี แสง –เงา รูปร่างและรูปทรงมาจินตนาการสร้างสรรค์ประกอบให้เป็นงานทัศน์ศิลป์พื้นบ้าน
รูปแบบและวิวัฒนาการของงานทัศน์ศิลป์พื้นบ้านด้าน
  - จิตรกรรม
  - ประติมากรรม
  -สถาปัตยกรรม
  -ภาพพิมพ์
3. ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติและการนำไปประยุกต์ใช้ (l=lmplementation)
1. ครูสุ่มตัวแทนกลุ่มนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
2. ครูและผู้เรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผล (E=Evaluation)
1. ครูให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
2. ครูและผู้เรียนเฉลยแบบทดสอบร่วมกัน
3. มอบหมายงานกรต.







1.แบบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
2. ใบความรู้
3. สื่อ ETV
4. ใบงาน
5. แบบทดสอบ
1.แบบบันทึกการเรียนรู้
2.แบบทดสอบ
3. สังเกต
4. การมีส่วนร่วม