วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการปฎิบัติงานประจำวัน วันที่ 1 กันยายน 2558


เช้านี้เดินทางเข้า กศน.ตำบลบ้านเป้า 
ทำความสะอาดบริเวณภายใน ภายนอก รดน้ำต้นไม้ 
หลังจากนั้นได้ทำรายงานภาพกิจกรรม รายงานกิจกรรม กพช.การพัฒนาปรับปรุงกศน.ตำบล

นช่วงบ่ายได้เดินทางไปยังพื้นที่ตำบลทุ่งฝาย
 ร่วมต้อนรับคณะศึกษาดูงานเศรษฐกิจพอเพียง 
โดยท่านผอ.ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ และอาจารย์ยุรัยยา อินทรวิจิตร หัวหน้ากลุ่มจัดฯ 
อาจารย์ปิ่นนภา คำปงศักดิ์ (ครูปิ่น) ครูกศน.ตำบลทุ่งฝายและพวกเราครู กศน.ตำบล
ที่บ้านคุณคณิต กันทะตั๋น
มาร่วมต้อนรับและศึกษาดูงานร่วมกับคณะในครั้งนี้
คณะศึกษาดูงานนำทีม โดยท่านผอ.จีรพงศ์ ผลนาค จากกศน.อำเภอสวรรคโลก จังหวัด สุโขทัย 
พร้อมคณะ จำนวน 35 ท่าน

พี่คณิต กันทะตั๋น เจ้าของสวนเป็นผู้บรรยายและให้การต้อนรับอย่างเป็นกันเอง
พร้อมกับน้องสาวและน้องชาย ที่ช่วยกันทำศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงนี้
พี่คณิต ได้เล่าประว้ติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้
ได้มีพื้นที่อยู่ใกล้บ้านมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ด้านหน้าติดถนน ด้านข้างและด้านหลัง มีคลองซอยน้ำชลประทานไหลผ่านพื้นที่ประมาณ 8 ไร่ จัดแบ่งเป็นโซนตามสภาพพื้นที่
แนวคิดการทำงาน
Set Zero คือ ทุกอย่างที่ผลิตทุกขั้นตอนต้องสามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้ไม่มีการสูญเปล่าถ้าขายไม่หมดก็นำมาแปรรูปหรือนำไปใช้ประโยชน์หมุนเวียนในครัวเรือนได้
"หิ้ว หาบ หาม"
หิ้ว คือ ผลิตสินค้าเพียงพอกับผู้ซื้อ ทำน้อยไปหามาก ผลิตแล้วขายได้ ขายหมด
หาบ คือ เมื่อขายได้ขายหมด แล้วค่อยขยายตลาดไปยังแหล่งใกล้เคียง
หาม คือ เมื่อมีลูกค้าที่มีอยู่ในมือมาด จึงต้องทำการขยายการผลิต และการตลาดเพิ่มขึ้น
เด็ด ดม แดก คือ ผลผลิตทุกอย่างภายในสวนสามารถเด็ดดม กินได้เพราะปลอดสารพิษ


ผลผลิตในสวนมีมากมายไม่ว่าจะเป็น ไข่ไก่ หน่อไม้ กล้วย พริก มะเขือ ชะอำ ข่า ตะไคร้
 และอื่นๆอีกมากมาย
ที่สามารถนำมาทำเป็นอาหารเป็นตลาดซูเปอร์มาร์เก็ตเคลื่อนที่ จริงๆเลยค่ะ


 พี่คณิต ได้บรรยายกิจกรรมในสวนเศรษฐกิจพอเพียงแต่ละฐานการเรียนรู้ แต่ละฐานดังนี้

  1. การสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่  เป็นแหล่งอาหารในครัวเรือน รายได้หลักรายวัน ขี้ไก่ก็นำมาใส่พืชผักในสวน
  2. เลี้ยงหมูแม่พันธุ์ แบบยกพื้นสูง เพื่อจำหน่ายลูกหมู
  3. การขุนบ่อน้ำไว้เพื่อเลี้ยงปลาเพื่อบริโภคและจำหน่าย 
  4. การปลูกพืชผักสวนครัวบริเวณรอบบ่อปลาเลือกเป็นพืชผักยืนต้น  เช่น ชะอม มะเขื่อเปราะ มะเขือพวง  พริก ข่า ตะไคร้ ปลูกเพียงครั้งเดียว บริเวณริมรั้วได้ปลูกต้นไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง มะยม พุทรา มะกอก  มะละกอ กล้วย มะพร้าวน้ำหอม เพื่อบริโภคในครัวเรือน
 5. การปลูกหญ้าแพงโกล่า พื้นที่ 1 ไร่ เพื่อจำหน่ายร่วมกับวิสาหกิจกชุมชนผู้ผลิตเสบียงสัตว์เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการรถม้า ช้าง ม้า วัว ควาย แกะ เก้ง กวาง กระต่าย 
 6. การปลูกไผ่กิมซุง พื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 80 ค้น สามารถบังคับให้หน่อออกในฤดูแล้งได้จะได้ราคาสูงกว่าในฤดูฝน จำหน่ายในรูปหน่อสด และแปรรูปเป็นหน่อไม้ดอง เพาะกิ่งพันธุ์ขาย สร้างรายได้เป็นรายสัปดาห์
 7. การปลูกข้าว พื้นที่ 2 ไร่ 200 สำหรับการบริโภคทั้งปีเหลือก็จำหน่าย มียุ้งฉางไว้เก็บข้าวเปลือกบริโภคในครัวเรือน ปลูกข้าวธัญสิริน ที่มีความนุ่ม อร่อย และข้าวขาวดอกมะลิ



ประโยชน์จากการศึกษาดูงานในตำบลทุ่งฝายครั้งนี้

ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
ที่มีการจัดสรรพื้นที่อย่างเป็นระบบใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
มีการเรียนรู้ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้และยังกระจายรายได้สู่ชุมชน
 สามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้ไม่มีการสูญเปล่า
ถ้าขายไม่หมดก็นำมาแปรรูปหรือนำไปใช้ประโยชน์หมุนเวียนในครัวเรือนได้
จากการเห็นตัวอย่างในครั้งนี้ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้รับไป
เผยแพร่ให้กับตำบลของตนจะยกเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนได้ทราบ
และที่สำคัญจะนำมาใช้กับตัวเองพร้อมที่จะปรับปรุงพิ้นที่ ที่บ้านให้เกิดประโยชน์อาจจะไม่มาก ไม่น้อย
แค่พื้นที่เล็กๆในบ้านของเราก็สามารถทำให้เกิดผลผลิตขั้นได้นะคะ เริ่มจากตัวเราก่อนเลย
....ใช้ชีวิต พออยู่ พอกิน พอใช้ ใช้ชีวิต อย่างพอเพียง....     
ตามปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำริชี้แนะแนวทาง "เศรษฐกิจพอเพียง"
ในการดำเนินชีวิต ให้มีความสุข อย่างพอเพียง.....

นางสาวระพีพรรณ  ภิญโญ
ครูกศน.ตำบลบ้านเป้า
รายงาน

3 ความคิดเห็น:

  1. ยอดเยี่ยมมากนะคะ ดีใจที่ครูขวัญจะนำความรู้นี้ไปเผยแพร่ต่อ และนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตนเอง

    ตอบลบ
  2. สุดยอดเลยค่ะ เขียนได้เนื้อหาและสรุปใจความได้ชัดเจน ขอนำไปเป็นแบบอย่างนะคะครูขวัญ^^

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ยินดีค่ะ... ขอคำแนะนำจากครูนุ้ยด้วยนะคะ ^^

      ลบ